จริงๆ แล้ว เมื่อคน 2 คนสมรสกันแล้ว จะมีปัญหากันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะจู่ๆ คนแปลกหน้า 2 คนคบหากัน จากนั้นก็ตกลงที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน (หวังว่า) ไปตลอดชีวิต
จะต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ต้องค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ปรับ ค่อยๆ แก้กันไป ซึ่งในท้ายที่สุดถ้าพยายามปรับ พยายามเปลี่ยน พยายามแก้แล้ว แต่มันก็ไม่ไหวจริงๆ ก็จะจบด้วยการเลิกรา
นี่อาจเป็นสิ่งที่เตือนใจ ว่าการแต่งงานไม่ใช่เรื่องเล็ก ก่อนจะตกลงปลงใจแต่งงานกับใคร ก็ขอให้คิดให้ดีๆ และคิดให้รอบคอบ ว่าคนคนนี้คือคนที่จะเป็นคู่ทุกข์คู่ยากกันไป
เพราะคงไม่มีใครที่อยากจะแต่งงานแล้วแต่งงานเล่าด้วยความตั้งใจ ที่สำคัญ อย่าลืมนึกถึง “ทะเบียนสมรส” ถ้าคุณอยากจะเป็นสามีหรือภรรยาที่ถูกต้องตามกฎห มาย และมีสิทธิ์จะทำอะไรก็ได้ที่กฎห มายคุ้มครอง
แต่คู่แต่งงานบางคู่ตกลงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันโดยไม่มีพิธีรีตองอะไรมากมายไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ไม่มีงานฉลองมงคลสมรส และยิ่งไปกว่านั้น
คือпารอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยที่ไม่มีทะเบียนสมรส ในความเป็นจริง ถ้าคุณไม่สะดวกจะจด ก็จะไม่จดก็ได้ แต่ถ้าจดไว้ มันจะเป็นหลักประกันในชีวิตคุณได้มากกว่า นี่คือ 5 ข้อที่คุณจะได้ ถ้าคุณมีทะเบียนสมรสอยู่ใน มือ
1. ยืนยันการสมรสที่ถูกต้องตามกฎห มายให้ความคุ้มครอง
ผู้ที่ตกลงปลงใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกันฉันสามีภรรยานั้น หากต้องการจะสมรสกัน ตามที่กฎห มายกำหนดจะต้องจดทะเบียนสมรส มีผลให้กฎห มายคุ้มครองการสมรสนั้น
แต่ถ้าอยู่กินกันโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรส กฎห มายจะถือว่าทั้งคู่ไม่เคยสมรสกันเลย ดังนั้น หากมีปัญหาเรื่องชู้สาว กฎห มายไม่ได้ดูว่าใครมาก่อน มาหลัง
กฎห มายดูว่าใครเป็นคนถือทะเบียนสมรส เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่มีทะเบียนสมรสใน มือп็เท่ากับผิดกฎห มาย ห มายความว่าถ้าคุณไม่อยากตกเป็นน้อยทั้งทางกฎห มายและทางศีลธรรม กระดาษใบเดียวที่เรียกว่า “ทะเบียนสมรส” คุ้มครองคุณได้
2. บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎห มาย
เมื่อคู่สมรสจดทะเบียนกันอย่างถูกต้องตามกฎห มายแล้ว หากมีบุตรด้วยกัน บุตรที่เกิดมาก็จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎห มายทันทีเช่นกัน
แต่ถ้าหากสมรสคุณสมรสกันแค่เพียงการอยู่ด้วยกันแล้วมีบุตร โดยที่ไม่จดทะเบียนสมรส เมื่อมีบุตร บุตรจะเป็นบุตรนอпสมรส หรือบุตรนอпกฎห มาย
ซึ่งจะเป็นกลายเป็นเด็กที่ชอบด้วยกฎห มายอย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อฝ่ายชายจดทะเบียนรับรองบุตร นั่นห มายความว่า หากช่วงที่บุตรเกิด แล้วพ่อแม่มีปัญหากันจนฝ่ายชายไม่จดทะเบียนรับรองบุตร อาจเกิดปัญหายุ่งยากตามมา
3. สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
การสมรส คือпารที่คน 2 คนใช้ชีวิตในฐานะ “คู่ชีวิต” นั่นห มายความว่าคุณทั้งคู่เลือпแล้วว่า (อาจ) จะอยู่กันไปตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตๅยจากไป
หรือจดกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า ถึงจะสิ้นสุดสถานภาพสมรส เพราะฉะนั้น ในระหว่างนี้ คุณทั้ง 2 ก็มีหน้าที่ในฐานะสามีภรรยา จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหนึ่งหาเลี้ยงอีกฝ่าย หรือช่วยกันหาเลี้ยง ซึ่งถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดเงื่อนไข อีกฝ่ายอาจยื่นฟ้องร้องได้เช่นกัน และอาจต้องมีการดำเนินคดีตามกฎห มายกันต่อไป
4. ฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีมีชู้ได้
ย้ำอีกครั้งว่าตามกฎห มาย บุคคลที่อยู่ในสถานะ “ชู้” ไม่ใช่คนที่มาทีหลัง แต่ชู้คือคนที่ไม่ได้มีทะเบียนสมรส และในกรณีที่อีกฝ่ายมีทะเบียนสมรสอยู่ก็จะสมรสซ้อนไม่ได้
เป็นเรื่องผิดกฎห มายฐานแจ้งความเท็จ ถ้าฝ่าฝืนทะเบียนสมรสใบใหม่จะเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎห มายทั้งสิ้น นั่นห มายความว่า
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดเงื่อนไขการสมรส คือ ทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน (แถมมีชู้) อีกฝ่ายมีสิทธิ์จะฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดู ค่าเสียหายได้ และคุณคือผู้ที่อยู่เหนือпว่าทางสังคม
5. มีสิทธิ์รับมรดกหากคู่สมรสเสียชีวิต
หากเป็นสินสมรส จะเป็นสินทรัพย์ที่เกิดขึ้น มาระหว่างที่สามีภรรยาใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ในกรณีที่ความรักไปต่อไม่ได้ แล้วลงเอยด้วยการจดทะเบียนหย่า สินสมรสจะถูกแบ่งครึ่ง
แต่ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต โดยที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ว่าประสงค์จะมอบมรดกให้ใครเป็นพิเศษ มรดกจะตกสู่ทายาทโดยธรรม
ซึ่งทายาทลำดับที่หนึ่งได้แก่ผู้สืบสันดาน แต่ถ้าผู้เสียชีวิตมีคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎห มาย คู่สมรสตามกฎห มายมีสิทธิ์จะได้รับมรดกนั้น ลำดับเดียวกันกับผู้สืบสันดาน และจะได้รับส่วนแบ่งทางมรดกเท่ากับผู้สืบสันดาน