การแต่งงานเป็นสิ่งที่มีอัตราการล้มเหลวสูงเหนือทุกๆสิ่งที่เราพยายามทำ และผลกระทบของการหย่าร้าง (โดยเฉพาะกับเด็กๆ) ก็มักจะน่าเศร้าสลด
ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ระบบกฎห มายที่ทำให้การหย่าร้างเป็นเรื่องง่าย เพราะมันไม่ง่ายเลย และปัญหาก็ไม่ได้เกิดจากวิถีชีวิตสมัยใหม่ด้วย
แต่ปัญหาเกิดขึ้นจากการที่คนที่จะแต่งงานไม่รู้ว่าพวกเขากำลังทำอะไร อะไรที่ควรมองหาในตัวคู่ครอง หรือทำอย่างไรที่จะเลือกคนที่จะใช้ชีวิตด้วยไปตลอดชีวิต เสียใจด้วย
เพราะว่ารักอย่างเดียวมันไม่พอ เช่นเดียวกับการผูกมัดว่าจะต้องอยู่ด้วยกันทั้งๆที่ไม่มีความรักอยู่ตรงนั้นหรือรักข้างเดียว ทั้งหมดทั้งมวลคือสูตรสำเร็จไปสู่ความเศร้าระทมตลอดชีวิต
1. ทะ เลาะ
ถ้าคุณไม่เคยมีความเห็นขัดแย้งกับคู่ของคุณ คุณก็จะไม่รู้ว่าควรจะรับมือกับมันอย่างไร การก้ำกลืนฝืนทนรังจะทำให้เกิดความขุ่นเคือง
และความขุ่นเคืองก็มักจะนำไปสู่ความโกรธ หากคุณรู้สึกอะไรอย่างรุนแรงแล้วละก็ พูดมันออกมาเถอะ
วิธีการที่คุณแสดงถึงความไม่เห็นด้วย และวิธีที่คู่ของคุณรับมือกับมันอาจเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตแต่งงานที่ดีและมีชีวิตชีวา
หากคุณกลัวที่จะเห็นต่าง เพราะว่าคุณอยากหลีกเลี่ยงปัญหาหรือกลัวการถูกทอดทิ้งแล้วละก็ คุณก็ยังไม่พร้อมที่จะแต่งงาน
คู่แต่งงานควรจะรู้ว่าสามารถรับมือกับความขัดแย้งและหาทางแก้ไขได้ หรือได้แค่ปล่อยให้แต่ละฝ่ายโกรธอยู่อย่างนั้น
อย่าทะ เลาะกันเรื่องไร้สา ระจุกจิก แต่ให้เลือกประเด็นที่คุณเห็นคุณค่าและยืนหยัดตามความเห็นของคุณ ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นแต่เนิ่นๆจะช่วยป้องกันการเกิดความไม่พอใจอย่างมากในภายหลัง
2. เดินทางไปต่างที่ด้วยกัน
การแต่งงานคือการผจญภัย และคุณจำเป็นต้องรู้ว่าพวกคุณสองคนจะสามารถรับมือเวลาผจญภัยไปยังสถานที่แปลกใหม่ได้หรือไม่
หากพวกคุณไปยังที่ๆคุณคนใดคนหนึ่งเคยไป จะทำให้คุณคนใดคนหนึ่งมีสถานะเป็นไกด์นำทางและอีกคนเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของคู่ครองที่มีความเท่าเทียมกัน
นอกจากนั้นควรจะร่วมกันวางแผนและออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางร่วมกัน ทริปเดินทางสุดเซอร์ไพรส์ที่คนรักของคุณวางแผนและออกเงินทั้งหมดไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่เขาทำกัน
อันที่จริงแล้วยิ่งมีช่วงเวลาที่ไม่ได้วางแผน มากเท่าไหร่ยิ่งดี คุณจะได้เรียนรู้ที่จะวางแผนร่วมกันในตอนเช้าและเรียนรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนนั้นเกิดล้มเหลว
และยิ่งถ้าคุณติดแหงกอยู่ที่สนามบินหรือห ลงทางในต่างประเทศ คุณก็กำลังทดสอบทักษะการเอาชีวิตรอดของคุณทั้งสองคนอยู่
3. มีเ พศสัมพันธ์
เชื่อเถอะว่า ไม่มีใครอยากค้นพบว่าเข้ากับคู่รักบนเตียงไม่ได้ในคืนวันแต่งงาน หากศาสนาของคุณห้ามไม่ให้มีเ พศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานก็คงต้องยอม และตั้งความหวังไว้ว่าคู่สมรสของคุณจะมีสมรรถภาพดีเยี่ยม
นอกเหนือจากการมีเ พศสัมพันธ์และค้นพบว่ามันน่าอภิรมย์หรือไม่ คุณยังต้องพูดคุยกันเรื่องเ พศ สิ่งที่ชอบ ไม่ชอบ ข้อห้าม และจินตนาการของพวกคุณ
ความถี่ในการมีเ พศสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตแต่งงาน ว่าคุณต้องการมันบ่อยแค่ไหน แล้วคู่ของคุณต้องการมันบ่อยเหมือนกับคุณหรือเปล่า
ในชีวิตการแต่งงานที่ดี เ พศสัมพันธ์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความใกล้ชิด หากการมีเ พศสัมพันธ์ของคุณทั้งสองสนุกสนานแต่ไม่สร้างอารมณ์ของความใกล้ชิดแล้วละก็ ในที่สุดคุณอาจจะไปตามหาความใกล้ชิดที่อื่น ซึ่งกลายเป็นปัญหาในชีวิตคู่
4. ใช้เวลากับครอบครัวของอีกฝ่าย
เมื่อคุณแต่งงาน ครอบครัวคู่สมรสของคุณก็กลายเป็นครอบครัวของคุณด้วย การแสดงความเคารพพวกเขาจะทำให้ชีวิตแต่งงาน มีความสุขมากขึ้นอีกเยอะ
ความต้องการของครอบครัว ทัศนคติที่มีต่อคู่สมรส และปฏิสัมพันธ์กับพวกเขา อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความบาดห มางกันระหว่างคู่สมรส คุณไม่จำเป็นต้องชอบพวกเขาหรือเรียกพวกเขาว่าพ่อแม่
แต่คุณต้องเคารพพวกเขาในฐานะคนที่คลอดและเลี้ยงคู่ครองของคุณมาการสังเกตว่าคู่รักของคุณมีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้กับครอบครัวอย่างไร ช่วยในคุณคาดเดาได้ว่าคู่ของคุณจะเป็นอย่างไรหลังจากแต่งงานไปแล้ว
หากความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักของคุณและครอบครัวไม่ดี ซึ่งอาจจะมีเหตุผลอะไรบางอย่าง คุณก็ควรจะเปิดอกพูดคุยกัน ยิ่งไปกว่านั้น
การรอจนกระทั่งแต่งงานหรือหลังจากนั้นที่จะแนะนำคู่ครองในอนาคตของคุณให้ครอบครัวรู้จักอาจทำให้ทุกคนตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าอึดอัด
5. อยู่ด้วยกัน
นอกจากคุณได้วางแผนที่อยู่แยกกันคนละบ้านแล้ว คู่ครองของคุณก็จะกลายมาเป็นเพื่อนร่วมห้อง (อาจจะตลอดชีวิต) ให้ลองคิดถึงเพื่อนร่วมห้องที่คุณเคยอยู่ด้วยสิ
การมองล่ วงหน้าถึง พฤติกรรมและรสนิยมที่ทำภายในบ้านอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ชีวิตแต่งงานประสบความสำเร็จ คนที่มีความชอบและการกระทำที่ตรงข้ามกัน
เช่น คนซ กม ก-คนเนี้ยบ คนชอบของเยอะ-คนชอบของน้อยชิ้น คนรักพรม-คนรักพื้นไม้ เป็นต้น
ซึ่งคุณอาจพบว่าคนเหล่านี้ยากที่จะอยู่ด้วยกันโดยไม่มีปัญหา นอกจากนั้นคุณยังอยากรู้ว่ารู้สึกอย่างไรเวลาตื่นนอนและเข้านอนพร้อมกับคู่รัก