เลี้ยงลูกอย่างไร ให้ลูกโตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ที่ดี

เรื่องที่แม่ต้องสอนลูก ไม่ใช่แค่เรียนให้เก่ง แต่ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความสุข โตไปไม่ลำบาก การสร้างสังคมที่ดีสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา และต้องช่วยกันปลูกฝังความดีสู่หัวใจลูกตั้งแต่ยังเล็ก สำหรับเทคนิคการเลี้ยงลูกให้จิตใจดี ต้องเริ่มดังนี้

1. ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเอง

เพื่อเป็นพื้นฐานทักษะอื่นต่อไป เพราะการที่เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และลดการพึ่งพาคนอื่น

จะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจในตัวเอง ลดความกังวล และพร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

2. ฝึกลูกช่วยงานบ้าน

เริ่มได้ตั้งแต่เล็ก โดยส่วนใหญ่เด็กวัย 2 ขวบ เริ่มฟังและเข้าใจคำสั่งง่ายๆ ดังนั้นเราควรฝึกลูกให้ช่วยงานบ้านขั้นพื้นฐาน เช่น เก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จแล้ว

นำเสื้อผ้าที่สวมแล้วไปใส่ตะกร้า เป็นต้น การให้ลูกช่วยงานบ้าน โดยเริ่มจากสิ่งที่เขาควรต้องรับผิดชอบเอง ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อ การใช้ชีวิตในสังคม

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ค่อยเพิ่มหน้าที่ภายในบ้านให้เห ມ าะสมกับวัย ลูกก็จะเรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่ตนทำ มีผลกระทบต่อคนรอบข้างอย่างไร นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเอาใจเขาใส่ใจเรา

3. ฝึกระเบียบวินัย

เพื่อเป็นทักษะการควบคุมตนเอง และยับยั้งชั่งใจให้แก่ลูก นับเป็นพื้นฐานการทนต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่เล็กๆ เช่น การตื่นนอนและเข้านอนให้เป็นเวลา รับประทานอาหารเป็นเวลา การเก็บของเล่นให้เป็นที่เป็นทางหลังเล่นเสร็จแล้ว ไม่รับประทานขน มหรืออาหารในห้องนอน เป็นต้น

4. การพาลูกพบคนหลากหลาย

เป็นการฝึกให้ลูกมีความเห็นอ กเห็นใจผู้อื่น และเข้าใจสังคมมากขึ้น คือทำให้เขาเห็นว่า ในโลกนี้มีคนที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งสีผิว เชื้อชาติ ภาษา และความคิด ซึ่งสิ่งที่แตกต่างเหล่านี้ ไม่ได้แปลว่าผิดเสมอไป

การพาลูกออ กเดินทางท่องเที่ยว ได้เห็นวิถีชีวิตผู้คนที่แตกต่าง พร้อมกับคำชี้แนะที่เห ມ าะสม จะทำให้ลูกเข้าใจความเป็นไปของโลกใบนี้ได้ดีขึ้น

5. สอนเรื่องอารมณ์ต่างๆ

พ่อแม่มักให้ความสำคัญ กับการสอนลูกให้เป็นเลิศในด้านวิชาการ สอนเรื่องมารยาท กฎระเบียบ แต่กลับลืมเรื่องการรับมือ กับอารมณ์ตั้งแต่ลูกยังเล็ก

ดังนั้น พ่อแม่ควรเริ่มต้นสอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ต่างๆ ของตน ด้วยการเอ่ยชื่ออารมณ์นั้นๆ เมื่อลูกแสดงออ กมา เช่น เมื่อลูกร้องไห้ที่ไม่ได้ของเล่น อาจบอ กลูกว่า

แม่รู้ว่าลูกกำลังเสียใจที่ไม่ได้ของเล่น หรือเมื่อลูกโกรธที่ถูกแย่งขน ม ต้องบอ กว่า ลูกกำลังโกรธใช่ไหม แต่แม่อยากให้ลูกหายใจลึกๆ ใจเย็นๆ

การสอนเช่นนี้จะช่วยทำให้ลูก เรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเมื่อโตขึ้น และไม่นำอารมณ์ของตนเอง มาเป็นข้ออ้างในการทำร้ า ຢคนอื่น

6. สร้างแรงบันดาลใจด้วยเรื่องเล่า

สำหรับเด็กเล็ก โลกของเขายังไม่กว้างใหญ่มากนัก การเล่าเรื่องราวต่างๆ จากนิทาน หรือเกร็ดประวัติศาสตร์อย่างง่ายๆ เกี่ยวกับบุคคลที่ทำเพื่อผู้อื่น

จะช่วยให้ลูกเข้าใจเรื่องการช่วยเหลือ กันในสังคมได้ดีขึ้น คนเป็นพ่อแม่อาจถามลูกว่า หากเหตุการณ์อย่างในนิทานเกิดขึ้นกับลูก

ลูกจะทำอย่างไร ลองฟังคำตอบของลูก แล้วชื่นชมหรือตั้งคำถาม เพื่อชี้แนะแนวทางที่ถูก หลีกเลี่ยงที่จะวิ จาຣณ์และตัดสินว่า

คำตอบของลูกถูกหรือผิด เพื่อให้ลูกได้ฝึกคิดด้วยตนเอง โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ชี้นำแนวทางที่เห ມ าะสม

7. สอนลูกให้รู้จักแก้ปัญหา

บ่อยครั้งที่ลูกทำผิดพลาด พ่อแม่หลายคนจะใช้วิธีตำหนิหรือดุลูก เพื่อไม่ให้ลูกทำผิดอีก ซึ่งจะทำให้เด็กคิดว่า การทำผิดเป็นเรื่องใหญ่ และกลัวที่จะทำผิด

หรือจะปกปิดความคิดของตนเองโดยการโกหก ดังนั้น พ่อแม่ควรรู้จักให้อภัยลูก แล้วชวนลูกแก้ไขปัญหา หลังจากที่เกิดข้อผิดพลาด เช่น เด็กวิ่งแล้วทำน้ำหก

พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ คือ เช็ดน้ำและเก็บแก้วให้เป็นที่ หลังจากนั้นชวนให้ลูกคิดว่า ครั้งหน้าต้องระวังอย่างไร ให้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก

นอ กจากเรื่องที่แม่ต้องสอนลูกแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครอง คนในครอบครัว ก็ต้องเป็นต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก เพราะการเห็นแบบอย่างที่ดี

จะทำให้เด็กสามารถจดจำการทำดี ได้มากกว่าการใช้เพียงคำพูด การเลี้ยงลูกต้องใช้ความอดทน ความเข้าใจเป็นสำคัญนะคะ

กว่าที่ลูกจะรู้เรื่องและทำตามในสิ่งดีๆ ก็ต้องใช้เวลาฝึกฝน ปฏิบัติเป็นประจำ หากพ่อแม่หมั่นอบรมสั่งสอน และเอาใจใส่เสมอ ลูกก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีอย่างแน่นอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.