8 อย่างที่ไม่ควรพูด เพราะจะไม่มีใครอยากคบ

วิธีการพูด ที่ใช้เราบ่อยๆ สื่อถึงความเป็นตัวเราได้ดีที่สุด บางวิธีก็ช่วยกระชับความสัมพันธ์ ขณะที่บางวิธีอาจยิ่ง ทำร้ า ยความรู้สึกให้ย่ำแ ย่ ไปกว่าเก่ามาลองดูกัน ว่าคุณหรือคนรอบข้างคุณ กำลังพูดแบบนี้จนเป็นนิสัยอยู่หรือเปล่า

หากใช่ ก็ขอให้ลดละเลิก เพื่อประคองความรู้สึกที่ดีระหว่างกันเอาไว้

1. พูดถึงเรื่องในอดีตที่ผิดพลาดของคนอื่น

การยกความผิดพลาดของคนอื่น ขึ้น มาพูดถึงซ้ำๆ ทั้งที่หากคิดโดยใช้หลักเหตุผลก็รู้ว่าพูดบ่อยไป ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือยกความผิดพลาดนั้น มาพูดต่อหน้าคนอื่นๆ การกระทำแบบนี้ไม่เพียง

แต่จะทำให้คนพูดดูเป็นคนจู้จี้ ขี้บ่น ยังถือเป็นการบ่มเพาะทั้งความขุ่นเคืองและความอับอายให้แก่คนฟัง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อทั้งความสัมพันธ์ และประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแน่นอน

2. พูดแ ช ร์ ความลับของอีกคนให้คนอื่นฟัง

ความไว้ใจไม่ใช่สิ่งที่ จะสร้างกันได้ในชั่ ว ข้ามคืน กว่าเราจะเปิดใจพูดเรื่องลับๆ หรือเรื่องที่ตัวเราไม่สบายใจและไม่อย ากให้คนอื่นรู้ให้ ‘ใครสักคน’ ฟังได้ก็ต้องมีความไว้ใจกันพอสมควร

ลองคิดดูว่าหากความลับ ที่ว่าถูกคนอื่นที่เราไม่ได้สนิทใจรู้เข้าจะรู้สึกแ ย่ แค่ไหนหากไม่อย ากเปลี่ยนจากคนดีๆ เป็นคนแ ย่ๆ ก็อย่าเอาเรื่องที่คนอื่น ไม่อย ากให้ใครรู้ไปพูดต่อ

3. พูดปัดความรับผิดชอบ

‘อ๋อ ฉันไม่รู้เรื่องนะ อีกคนต่างหาก ที่ดูแลจัดการเรื่องนี้’ การพูดปัดหรือโยนความรับผิดชอบ นอ กจากจะกระทบไปถึง คนที่เราโยนความรับผิดชอบไปให้แล้ว ยังทำให้ตัวเราถูกมองว่าขาดความน่าเชื่อถือ

และพึ่งพาไม่ได้ไปด้วย โดยเฉพาะหากความรับผิดชอบ นั้นเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่การของเรา

4. พูดเปลี่ยนเรื่องกระทันหัน

ในระหว่างบทสนทนา เราควรตั้งใจฟังให้ดีด้วยว่าคนอื่นเขาพูดเรื่องที่คุยค้างอยู่ จบหรือยัง การตัดบทเปลี่ยนไปพูดเรื่องอื่นกระทันหัน

นอ กจากจะทำให้คนอื่นๆ เสียอารมณ์แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความไร้กาลเทศะ และความไม่ใส่ใจผู้อื่นของเราด้วย

5. พูดถึงความจำเป็นของตัวเองฝ่ายเดียว

‘ทำเรื่องนี้ให้พี่หน่อย พี่ทำคนเดียว ไม่ไหวแล้ว ภาระพี่เยอะ’ ยกเอาความจำเป็นของตัวเองมาก่อน ชักแม่น้ำสามสิบแปดสาย เพื่อโยนภาระของตัวเองให้คนอื่น

การพูดจาทำนองนี้ อาจเรียกความเห็นใจได้ในระยะสั้น แต่หากทำจนเคยตัว จะกลายเป็นน่าเอือมระอาไป ทุกคนต่างมีภาระหน้าที่ เป็นของตัวเองทั้งนั้น ควรเอาใจเขามาใส่ใจเราและนึกถึงความจำเป็นของคนอื่นก่อนพูดด้วย

6. พูดเปรียบเทียบคนอื่นกับคนฟัง

เปรียบเทียบลูกตัวเอง กับลูกคนอื่นที่เรียนเก่งกว่า เทียบลูกน้องอีกคนกับลูกน้องตัวเอง เปรียบเทียบคนอื่น กับแฟนตัวเอง จริงอยู่ที่คนเรามีความแตกต่างกัน แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะอย ากโดนเปรียบเทียบ

ไม่ว่าคนพูดจะหวังดี อย ากพูดเพื่อ เป็นแรงผลักดัน หรือพูดเพื่อ กดคนอื่นลงต่ำ สุดท้าย แล้วหากพูดแบบนี้จนเป็นนิสัยไม่ว่ากรณีไหนก็ไม่น่าฟังอยู่ดี

7. พูดเรื่องไม่จริงที่ทำคนอื่นเดือดร้อน

จะมีอะไรแ ย่ ไปกว่าการพูด โ ก ห ก จนคนที่ถูกพูดถึง ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากใจอีก การพูดกลับดำเป็นขาว ตีไข่ใส่สีจนเรื่องต่างๆ แ ย่ ลงกว่าเดิม นั้นไม่ใช่การกระทำของคนที่หวังดีต่อ กันแน่ๆ

หากยังอย ากมองหน้ากันติดและมีความรู้สึกดีๆ ต่อ กัน ก็ควร เลิกพฤติก ร ร มแบบนี้ก่อนที่จะไม่เหลือใครให้คบ

8. เมินสิ่งที่อีกคนพูดกับเรา

ข้อนี้แม้ไม่ใช่วิธีพูด แต่กลับเป็นการแสดงออ กที่ทำร้ า ยจิตใจคู่สนทนามากที่สุด หากเราไม่ได้กำลังทำธุระอื่นควรรับฟัง สิ่งที่คู่สนทนาพูด หรือหากเรากำลังอยู่ในอารมณ์ที่ขุ่น มัวก็ควรจะตอบไปตามสมควรบ้าง

เพื่อรักษ า น้ำใจของกันและกันเอาไว้ ไม่มีใครหรอ กที่อย ากถูกเมิน คุณเองก็เช่นกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.