หากคุณคิดว่าคนเราสามารถรวยได้ ก็ต่อเมื่อต้องหาเงินได้มหาศาล มีรายรับเข้ามามากมาย ทำให้บางคนคิดว่าชีวิตนี้คงไม่มีวันรวยแน่ๆเพราะไม่สามารถหาเงินได้มากขนาดนั้น
แต่จริงๆแล้วเราจะรวยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการอดออมและพฤติกรรมการใช้เงินของเราต่างหาก ที่จะทำให้เรารวยมากขึ้น แต่หลายคนก็ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่อง “ออมเงิน” อยู่ คิดว่าสิ่งที่เราทำอยู่นี้คือ กำลังออมเงินทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่
1. ใช้จ่ายก่อน
แล้วเงินที่เหลือค่อยเก็บ เมื่อมีรายรับเข้ามา บางคนไม่ได้แยกเงินออมออ กมาทันที แต่ใช้เงินไปก่อน แล้วเงินที่เหลือค่อยเป็นเงินออม แบบนี้ไม่ได้เรียกว่าออมเงิน
เพราะการออมเงินที่ถูกต้องคือ ตั้งเป้าห ມ ายเอาไว้ว่าจะออมเดือนละกี่บาท หรือ กี่เปอร์เซนต์ แล้วค่อยควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินเงินที่เหลือ
2. มัวแต่รอเวลาอันเห ມ าะสมแล้วค่อยเก็บเงิน
บางคนจะเริ่มเก็บเงินทั้งที มัวแต่รอว่าค่อยเก็บตอนเงินเดือนขึ้น รอจังหวะหรือมัวแต่รอดูฤกษ์ค่อยเก็บ เช่น รอวันเกิด รอปีใหม่ มัวแต่รอไปรอมาก็ไม่ได้เก็บเสียที
พยายามคิดว่าการออมเงินคือค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งของเราในแต่ละเดือน ควรกำหนดไปเลยว่าเมื่อมีรายรับเข้ามาก็หักออ กไปเลยทันที หรือคิดเป็นเปอร์เซนต์จากรายได้ เพราะถึงอย่างไรรายได้เราต้องเพิ่มขึ้นทุกปีอยู่แล้ว ก็ควรเก็บเงินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
3. ไม่ลงทุนเพิ่ม
อย่าเพียงคิดแต่ว่าจะเก็บเงินจากรายได้ประจำเท่านั้น และนำเงินนั้นเก็บเอาไว้ในบัญชีนิ่งๆ ไม่ได้เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การเก็บเงินที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดคือ
การนำเงินก้อนนั้นไปลงทุนอย่างอื่นเพื่อให้งอ กเงยขึ้น มาเรื่อยๆ หรือลงทุนสินทรัพย์ใดๆเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ไม่มีเงินสดเผื่อฉุกเฉิน
จากข้อ 3. เมื่อเราได้นำเงินไปลงทุนเพิ่มแล้ว อย่าลืมสำรองเงินสดเผื่อฉุกเฉินไว้ เพราะถ้าเรานำเงินทั้งหมดไปลงทุน มันจะขาดสภาพคล่อง
เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้อย่างเร่งด่วน จะนำเงินออ กมาได้ยาก ดังนั้นควรสำรองเงินสดเอาไว้ เพราะเงินสดคือเงินที่มีสภาพคล่องสูงสุด สามารถนำออ กมาใช้ได้ทุกเมื่อ แต่อย่าลืมว่า้ต้องฉุกเฉินจริงๆเท่านั้นจึงจะนำออ กมาใช้
5. เก็บเงินไม่เป็นสัดส่วน
การเก็บเงินไม่ใช่แค่เพียงกันเงินออ กมาจากรายจ่ายเท่านั้น แต่ให้คิดว่าเงินก้อนนี้เราจะนำไปทำอะไรบ้าง ให้แบ่งเป็นสัดส่วนเอาไว้ หรืออาจจะแยกบัญชีเพื่อไม่ให้ปะปนกัน
ยกตัวอย่างเช่น กำหนดเอาไว้ว่าเงินออมเท่ากับ 30% ของรายได้ ภายใน 30% นั้นแบ่งออ กเป็น 5 กลุ่ม คือ เงินสำหรับการลงทุนระยะสั้น 30%, เงินสำหรับการลงทุนระยะยาว 30%, เงินก้อนเพื่อนำไปเรียนต่อ 20%, เงินสำหรับไปเที่ยวต่างประเทศ 10%, เงินสดเผื่อฉุกเฉิน 10% เป็นต้น
6. ไม่ทำรายรับ-รายจ่าย
ข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งของการเก็บเงินก็คือ ไม่ได้ทำรายรับ-รายจ่าย ซึ่งแม้ว่าเราอาจจะกันเงินเก็บแยกไว้แล้วก็ตาม แต่การทำรายรับ-รายจ่ายทำให้เราได้รู้ว่ารายจ่ายที่ออ กไปแต่ละเดือน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
และไปหนักที่อะไร ซึ่งตรงนี้จะทำให้เราเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรที่สิ้นเปลืองเกินไป สามารถลดลงให้น้อยกว่านี้ได้หรือไม่ การทำรายรับ-รายจ่ายจะช่วยให้เราคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น ดีไม่ดีหากเราสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ก็จะทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นด้วย