ไม่มีคำว่าสาย สำหรับการทำเรื่องใดๆ ที่ดีกับชีวิตของเราโดยเฉพาะเรื่องการเก็บออมเงิน ถ้ามีใจรักและคิดที่จะลงมือทำแล้วนั้น ไม่ว่าคุณจะเงินเดือน มากหรือเงินเดือนน้อยแค่ไหนก็เก็บเงินได้ทั้งนั้น ทุกอย่างต้องเริ่มที่ใจ
หัดให้นิสัยมีวินัยแล้วลงมือทำ น้อยมากไม่ใช่ประเด็น การลงมือทำวันนี้เดี๋ยวนี้สิสำคัญ ขออย่าคิดติดลบตัดกำลังใจตัวเองว่า
แหม!! เงินเดือนก็น้อย หนี้ก็เยอะ ทำงานทั้งเดือนแทบไม่พอใช้ถึงปลายเดือน แล้วจะเอาที่ไหน มาเก็บ เปลี่ยนความคิดเสียใหม่
อย่าปล่อยให้อุปสรรคเหล่านี้มาเป็นตัวขัดขวางความมั่งคั่งของคุณ ไม่ต้องกลัวว่าเงินเดือนน้อย หนี้เยอะ เพราะทุกปัญหามีทางออ กเสมอ มาดูวิธีการออมเงินที่ใครๆ ก็ทำได้แม้เงินเดือนน้อย หนี้เยอะกันดีกว่า
1.ปรับตารางการเงินเสียใหม่
สำรวจรายรับรายจ่าย ในแต่ละเดือนเพื่อให้รู้สถานะทางการเงินที่แท้จริง จะได้วางแผนใช้เงินและออมเงินได้เห ม าะกับตัวเอง เพราะมีหลายคนที่ออมเงิน
ไม่ตรงกับสไตล์การใช้ชีวิต ทำให้เสียเงินไปกับเรื่องไม่จำเป็นและเป็นหนี้เพิ่มขึ้น เช่น บอ กว่าให้ออมเงิน 10% ของเงินเดือน
ซึ่งถ้าหากคุณมีเงินเดือนประมาณ 1.5 หมื่นบาท แต่มีหนี้เกินกว่า 40% ของเงินเดือน คือ 6,000 บาท เท่ากับเหลือเงินใช้ 9,000 บาท
ซึ่งที่เหลือนี้คุณต้องจ่ายให้กับค่าใช้จ่าย ประจำในแต่ละเดือนอย่างค่าบ้าน 3,000 บาท ค่าโทรศัพท์ 600 บาท ค่าน้ำค่าไฟ 800 บาท ส่งเงินให้ครอบครัว 2,000 บาท
รวมๆ แล้วคุณเหลือเงินใช้ทั้งเดือนเพียง 2,600 บาทเท่านั้น ซึ่งเมื่อต้องหักเงินออม 10% ของเงินเดือนก่อนที่จะใช้จ่ายอย่างอื่น
ก็เท่ากับว่าเงินในแต่ละเดือนของคุณติดลบและไม่พอใช้แน่นอน และอาจจะตามมาด้วยการเริ่มต้นเป็นหนี้
และคุณภาพชีวิตในแต่ละวัน ก็ไม่ดีด้วย เพราะต้องประหยัดอย่างถึงที่สุด ดังนั้นตรวจสอบสถานะทางการเงินของตัวเองก่อนที่จะเริ่มออมเงิน
เพื่อจะได้หาวิธีที่เห ม าะสมที่สุดกับตัวเอง ค่อยขยับปรับเปลี่ยนแล้วออมไม่ถึง 10% ในตอนแรก เมื่อปรับตัวได้ ลดค่าใช้จ่ายตรงอื่นแล้วจึงค่อยเพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆ
2.เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้เงิน
เมื่อรู้สถานะทางการเงินของตัวเองแล้วก็สำรวจพฤติกรร มของตัวเอง ด้วยเช่นกันว่ามีอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อ การเก็บเงิน อย่างเช่นชอบใช้เงินเกินตัว จนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีหนี้สิน มีนิสัยชอบสร้างหนี้
ชอบใช้ของเกินฐานะและเป็นของที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะต้องแก้ไขพฤติกรร มเหล่านี้โดยด่วน ตัดทอนการใช้จ่ายบางอย่างออ กไป
3.เริ่มเก็บเงินจากจุดเล็กๆ
ช่วงเริ่มต้นที่เงินเดือนไม่มากและ ยังมีหนี้สินล้นพ้นตัว อาจจะต้องเริ่มเก็บเงินจากสิ่งเล็กๆ ก่อน เช่น เงินเหรียญที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน หยอดใส่กระปุกออมสินเอาไว้ในทุกๆ วัน หรือเก็บเศษของเงินเดือนในแต่ละเดือน
เช่น เงินเดือน 15,650 บาท ให้เก็บเอาไว้ 650 บาท เป็นต้น เป็นการเริ่มต้นออมเงินอย่างง่ายๆ ที่ไม่ทำให้คุณต้อง ลำบากมากนัก
4.จัดการหนี้สินอย่างเป็นระบบ
อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของความมั่งคั่งก็คือหนี้สิน จึงต้องจัดการกับปัญหาหนี้สินให้เป็นระบบก่อน กั ด ฟั น ใช้หนี้จำนวนน้อยๆ ก่อน จะได้ลดภาระหนี้สินในเดือนต่อๆ ไปให้ลดน้อยลง เริ่มจากเมื่อได้เงินก้อนใหญ่อย่างโบนัส หรือเงินจากการทำงานพิเศษ
ให้นำมาปิดหนี้สินที่มียอดน้อยๆ ก่อน ส่วนหนี้ที่มียอดสูงๆ ก็จ่ายเพียงขั้นต่ำไปก่อนเพื่อประคองตัว จากนั้นเมื่อหนี้สินก้อนเล็กๆ หมดไป ก็จะทำให้เหลือเงิน ในแต่ละเดือนเยอะขึ้นและค่อยทยอยจ่ายหนี้ก้อนใหญ่ต่อไป
5.ประหยัดให้มากขึ้น
จากการประหยัด ค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น ประหยัดน้ำ เพื่อลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำค่าไฟประจำเดือน ใช้โทรศัพท์แบบเติมเงิน แทนการใช้รายเดือน และใช้เท่าที่จำเป็น ซื้ อ กับข้าวมาทำเอง
และทำอาห ารไปกินที่ทำงาน อร่อยแถมยังได้รับประทานอาห ารที่มีประโยชน์อีกด้วย เลือ กซื้ อของลดร าค า แต่ต้องพิจารณาดูแล้วว่าเป็นของที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ อของเข้าบ้านได้อีกเพียบ
6.แบ่งเงินใช้ให้พอดีเป็นวันๆ
เช่น วันละ 350 บาท อย่าพกเงินติดตัวทีละเยอะๆ แต่ละวันหยิบเงิน มาใช้ แค่จำนวนพอดี เพื่อบังคับให้ใช้เงินเท่าที่จำเป็นในจำนวนเงินที่มีอยู่ หลายคนเวลา เข้าร้านสะดวกซื้ อ เพราะตั้งใจซื้ อ ของแค่อย่างเดียว
แต่เมื่อเข้าไปในร้านก็อดไม่ได้ที่จะหยิบของชิ้นอื่นๆ เพิ่ม ดังนั้นหยิบเงินไปแค่พอซื้ อของที่ต้องการก็พอ
7.หารายได้เพิ่ม
ถ้ารายได้น้อยไม่ค่อยพอ กับค่าใช้จ่าย ต้องหารายได้เสริมเพื่อให้มีเงิน มากขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากงานเสริมพาร์ตไทม์ช่วงเย็นหลังเลิกงาน หรือช่วงเส า ร์-อาทิตย์
หากมีความรู้พิเศษเฉพาะทางก็สามารถ รับงานฟรีแลนซ์มาทำได้ เพื่อให้มีเงินเพียงพอ กับค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่องในแต่ละเดือนให้มากขึ้น
8.ตั้งเป้าเงินออม
สัญญากับตัวเองไว้ ว่าภายใน 1 ปีจะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้มีแรงจูงใจในการเก็บเงิน โดยอาจจะทำเป็นสมุดจดบันทึกเพื่อให้เห็นพัฒนาการของจำนวนเงินเก็บในแต่ละวัน หรือแต่ละสัปดาห์เพิ่มมากขึ้นแค่ไหน
และต้องเก็บเงินอีกเท่าไหร่จึงจะถึงเป้าห ม ายที่ตั้งเอาไว้ ทำไปเรื่อยๆ ก็จะติดนิสัยรักการออมได้ในที่สุด