1. เขียนงบออมเงิน
ก่อนจะออมเงิน คำนวณก่อนว่าคุณสามารถเก็บได้เท่าไหร่ ในแต่ละเดือน โดยเหลือใช้ไม่เดือดร้อน เริ่มจากคำนวณรายจ่ายหลักทั้งหมดที่ต้องจ่ายแน่ๆ ทุกเดือน
เช่น ค่าห้อง ค่าน้ำค่าไฟ ค่ากิน ค่าเดินทาง ฯลฯ แล้วลบออ กจากเงินเดือนหรือรายรับ เหลือเท่าไหร่ ถึงจะเป็นงบที่คุณสามารถนำไปเก็บออม หรือนำไปใช้จ่ายอะไรก็ได้ตามใจ
2. บัญชีเก็บห้ามกด
ห้ามเก็บเงินไว้ในบัญชีเดียว กับบัญชีใช้จ่ายประจำเด็ดขาด ควรเปิดอีก 1 บัญชีเพื่อเป็น “บัญชีเก็บห้ามกด” โดยไม่ต้องทำบัตรเอทีเอ็ม
เพื่อจะได้ไม่ต้องเผลอ กดออ กมาใช้โดยไม่จำเป็น หรืออาจจะเลือ กเปิดเป็นบัญชีฝากประจำไปเลยก็ได้
3. เก็บก่อนใช้
เงินเดือนออ กปั๊บ หักเข้าบัญชีเงินเก็บทันทีให้เป็นนิสัย หรือถ้ากลัวลืมก็ตั้งหักบัญชีอัตโน มัติได้ ตามระบบออนไลน์หรือ App ของธนาคาร
ที่เดี๋ยวนี้คุณสามารถกำหนดเองได้หมด ทั้งจำนวนเงิน และวันหักบัญชีของทุกเดือน เพื่อเป็นการสร้างวินัยให้การเก็บออมสม่ำเสมอ ตรงตามเป้าที่วางแผนไว้
4. พกเงินรายวัน
นำจำนวนเงินที่เหลือจากการเก็บหาร 30 จะได้งบใช้จ่ายรายวัน ในแต่ละเดือน แล้วพยายามทำให้ได้ตามนั้น
โดยหากทำได้อาจพกเงินสดติดตัวเท่าที่คำนวณไว้ ถ้าไม่พอจริงๆค่อยกดเพิ่ม หรือใช้ให้น้อยลงในวันถัดไปเพื่อถัวเฉลี่ยให้สมดุลกัน
5. ห้ามก่อหนี้
จำไว้ว่า “Debt is a dream killer” การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ เพราะภาระจากหนี้มักตัดโอ กาสดีๆในชีวิตหลายอย่าง ทั้งทำให้มีข้อจำกัดในการเลือ กงานที่เงินเดือนสูงพอเท่านั้น
ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้งานที่รักจริงๆ และตัดโอ กาสใช้จ่าย เพื่อหาประสบการณ์ตามฝัน หรือแม้กระทั่งเสียโอ กาสลงทุนที่จะทำให้เงินงอ กเงย โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ ใจเย็นไว้
อย่าเพิ่งผ่อนชำระสินค้าก้อนใหญ่ หรือทำบัตรเครดิต ถ้าไม่จำเป็น ใช้เงินปัจจุบันที่คุณมีอย่างพอเพียง อย่ายืมเงินในอนาคตมาใช้ เพราะดอ กเบี้ยบัตรเครดิตไม่เคยปราณีใคร
6. อยู่กับพ่อแม่
ถ้าไม่ลำบากในการเดินทางนัก ก็ไม่ควร เช่าห้องให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายประจำเดือน การอยู่บ้านพ่อแม่หลังเรียนจบไม่ใช่เรื่องเสียหาย
เพราะวัฒนธรรมเราต่างจากฝรั่งอย่างชาวอเมริกัน สังคมไทยเป็นสังคมครอบครัวใหญ่อยู่แล้ว การอยู่รวมกันนอ กจากจะลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ยังสร้างความอบอุ่น เชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัว และได้มีโอ กาสดูแลท่านอย่างใกล้ชิดด้วย
7. รู้จักลงทุน
อัตราเงินเฟ้อ ทำให้ค่าครองชีพสูงขี้นเรื่อยๆ ในขณะที่ดอ กเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์มีแต่จะลดลงในระดับไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ ทำงานเก็บเงินอย่างเดียวคงไม่พอ
ควรเริ่มเรียนรู้การลงทุนที่ถูกวิธี ไม่ว่าลงทุนในทองคำ, กองทุนดีๆ ที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย หรือ รู้จักเลือ กหุ้นพื้นฐานดีเพื่อลงทุนระยะยาว ฯลฯ
โดยสามารถหาความรู้ ได้จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจากหนังสือสอนการลงทุน, คลิปวิดีโอออนไลน์ หรือ ค อ ร์ ส อบรมให้ความรู้ ไม่มีคำว่า “เร็วเกินไป“ หรอ ก
ที่จะรู้จักการลงทุนตั้งแต่เริ่มทำงาน ตรงกันข้ามเรามักได้ยินคนที่อายุมากขึ้น บ่นเสียดายโอ กาสที่ไม่ได้ลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย อย่ารอให้คุณเป็นหนึ่งในนั้นเลย