ข้อคิดสอนใจ

6 วิธีเก็บเงินให้อยู่ สู่ความมั่นคงการใช้ชีวิต

หลายคนอาจมองว่า วิธีออมเงินเป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะไม่ว่าจะพยายามแค่ไหน สุดท้าย ก็เผลอเอาเงินนั้นไปใช้จ่ายทุกที แต่ความจริงแล้วการเก็บเงินนั้นไม่ใช่เรื่องยาก

หากแต่ขึ้นอยู่กับวินัยของผู้เก็บ ถ้าสามารถควบคุมตัวเองได้ การจะมีเงินก้อนใหญ่ในอนาคตก็ไม่ใช่แค่ฝัน วันนี้เรารวบรวมเคล็ดวิธีออมเงิน มาให้ทุกคนได้ลองทำตามกันถึง 6 วิธี!

ต่อให้เป็นคนเก็บเงินยากแค่ไหน ก็สามารถมีเงินออมมากขึ้นได้ มาดูกันเลย!

อยากเก็บเงินให้อยู่? มาดูวิธีออมเงินตามนี้เลย!

สำหรับคนส่วนใหญ่ เมื่อมีเงินอยู่ใน มือ แล้วมักจะคิดกันว่า “ใช้ไปก่อนแล้วสิ้นเดือนเหลือเท่าไหร่ค่อยเก็บ” แต่รู้ตัวอีกทีพอเข้ากลางเดือนเงินก็แทบไม่เหลือแล้ว

สุดท้ายก็ไม่ได้เก็บเงินสักบาท ยิ่งเป็นวัยทำงานที่จะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากมาย ทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ เงินที่จะต้องส่งทางบ้าน ฯลฯ

การจะมีเงินเหลือเก็บตอนสิ้นเดือนได้นั้น ยิ่งยากเข้าไปใหญ่แต่ความจริงแล้วพฤติกรรมนี้สามารถปรับปรุงได้ง่ายๆ หากมีวิธีออมเงินดีๆ และใช้ได้ผลจริง โดยการทำตามเทคนิคนิคดังต่อไปนี้!

1. เก็บก่อนใช้

ถ้าคิดว่าตัวเองไม่สามารถเหลือเกินไว้ เก็บตอนสิ้นเดือนได้ วิธีออมเงินวิธีแรกก็คือ หักดิบเก็บเงินก่อนใช้ไปเลย! ยกตัวอย่างเช่น

เมื่อคุณได้เงินเดือน มาแล้ว ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่มีและประมาณเงินที่สามารถเก็บได้ในเดือนนั้น แล้วแยกเงินส่วนที่เก็บได้ออ กมาต่างหากทันที

โดยอาจ โ อ น ไปยังอีกบัญชีธนาคารหนึ่ง หรือหยอดกระปุกออมสินเอาไว้หรือ ถ้าคุณต้องการความสะดวก

ปัจจุบัน มีแอปพลิเคชั่นจากธนาคารที่สามารถตั้งค่า โ อ น เงินอัตโน มัติได้ในทุกๆ เดือนถ้าคุณกลั้นใจไม่ถอนเงินที่มีส่วนนั้นออ กมาใช้ได้ รับรองว่าคุณจะมีเงินเก็บในทุกๆ เดือนอย่างแน่นอน

2. แบ่งเงินเป็นสัดส่วน

วิธีออมเงินนี้เห ม าะสำหรับ ผู้ที่อยากบริหารการเงินให้ดีในทุกๆ ด้าน ทั้งเงินเก็บ เงินที่ใช้ และหนี้สินต่างๆ อีกทั้งยังทำให้คุณเห็นภาพรวมของเงินด้วยว่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง

โดยการแบ่งสัดส่วนเงินหลัก หักค่าใช้จ่ายแล้ว เงินติดล้อขอแนะนำให้แบ่งออ กเป็น 4 ส่วนดังนี้

– เงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 60%

– เงินสำหรับใช้จ่ายเพิ่มความสุขให้ตัวเอง 20%

– เงินสำหรับเก็บออม 10%

– เงินเผื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน 10%

โดยสัดส่วนนี้จะทำให้คุณสามารถใช้เงินได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เป็นการฝืนตัวเองให้เก็บเงินเยอะจนเกินไป อีกทั้งยังมีเผื่อไว้จ่ายยามฉุกเฉินอีกด้วย

3. ตั้งเป้าห ม ายในการเก็บเงิน

บางทีที่คุณยังเก็บเงินไม่อยู่ เพราะไม่รู้จะเก็บไปทำอะไรเสียมากกว่า ฉะนั้นหากตั้งเป้าห ม ายว่า “เราจะเก็บเงินเพื่อสิ่งนี้!” อาจช่วยสร้างความฮึกเหิมในการเก็บเงินได้

ยกตัวอย่างเช่น อยากมีเงินแสนตอนอายุ 25 ภายในสิ้นปี จะต้องมีเงินพอสำหรับไปต่างประเทศ หรือเพื่อเปิดกิจการสร้างธุรกิจส่วนตัว

การสร้างแรงจูงใจนี้จะช่วยให้คุณไปถึงเป้าห ม ายได้ง่ายกว่าการที่เก็บไปเรื่อยๆ แบบไร้จุดห ม าย

4. กำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช้

ลองเปลี่ยน มาใช้วิธีออมเงิน ที่เรียบง่ายที่สุด นั่นก็คือ การกำหนดเงินที่ใช้ในแต่ละวัน อย่างตอนเด็กๆ ที่คุณได้เงิน มาใช้วันละ 100 บาท แต่ก็มีพอ กินพอใช้สบายๆ คราวนี้ลองเปลี่ยน มาคำนวณเพื่อใช้สำหรับปัจจุบันดูบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 วัน มีค่าอาหารเช้า กลางวันและเย็นประมาณ 180 บาท ค่ารถไปกับ 50 บาท เมื่อลองประมาณเผื่อค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้ว คุณอาจนำเงินออ กไปใช้เพียงวันละ 300 บาทไม่เกินกว่านี้

แนะนำว่าให้นำเงินรายวัน เก็บเป็นซองไว้ พอจะออ กจากบ้านก็หยิบเงินถุงเงินไปใช้ เป็นการบังคับรายจ่ายที่ได้ผลดีทีเดียว

5. เลือ กเก็บแบงค์ 50

วิธีนี้เป็นที่นิยมและค่อนข้างได้ผล อีกทั้งยังไม่สร้างภาระทางการเงิน มากนัก เพราะแบงค์ 50 มีโอ กาสที่จะได้รับมาค่อนข้างน้อย แต่เมื่อผ่านไปนานๆ เข้าคุณอาจเก็บไว้ได้หลักพันถึงหลักหมื่นบาทโดยไม่รู้ตัว

ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างโด่งดังในโลกออนไลน์ มีผู้ที่ทดลองวิธีเก็บเงินเช่นนี้ จำนวน มากแล้วได้ผล เป็นอีกวิธีออมเงินอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งได้ผลดีทีเดียว

6. บันทึกรายรับรายจ่าย

วิธีออมเงินโดยการทำบันทึกรายรับรายจ่าย จะทำให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเป็นยังไงบ้าง ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินไปหรือไม่ มีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นและปรับลดได้ซึ่ง ตอนนี้มีแอปพลิเคชั่นจัดการรายรับจ่ายเยอะมาก สามารถวิเคราะห์ได้เลยว่าตอนนี้คุณใช้จ่ายส่วนไหนเยอะที่สุด

เงินออมคุณ อยู่ในเกณฑ์ดีหรือ อั น ต ร า ย หลายท่านใช้วิธีนี้แล้วไม่ได้ผล เลยอยากแนะนำทริคง่ายๆ คือ จดทุกครั้งที่ใช้ ช่วงแรกอาจจะยาก แต่พยายามทำให้ครบ 1 สัปดาห์ แล้วการบันทึกรายรับรายจ่ายจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

Meko