เทคนิคเก็บเงินแบบง่ายๆ คนที่เก็บเงินไม่เก่ง ก็ทำได้

ปัญหาเรื่องการเงินที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา การเงินอีกหลาย ๆ อย่างเลย คือ เก็บเงินไม่อยู่ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากการที่เราไม่รู้ “วิธีออมเงิน” ที่ถูกต้องหรือไม่

แต่เมื่อเราไม่มีเงินออมเวลาเกิดเหตุไม่คาดฝันไม่ว่าจะเป็น ตกงาน เ จ็ บป่ ว ย อุ บั ติเ ห ตุ ฯลฯ ก็จะทำให้เราไม่มีเงินไปจัดการปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้

ซึ่งนั่นก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราต้องเริ่มกู้ยืม เป็นหนี้กันไปซึ่งบอ กเลย ว่าเราเองก็เคยเป็นคนที่เก็บออมเงินไม่ได้เหมือนกัน

1. เก็บออมก่อนใช้เสมอ

“วิธีออมเงิน” นี้เป็นวิธีที่เราน่าจะได้ยินกัน มานาน แต่รู้กันหรือไม่ ว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ทรงพลังมากที่สุด เราเชื่อว่าทุกคน น่าจะเคยเจอปัญหาประมาณว่าเหลือเงินอยู่ 500 บาท แต่ต้องใช้ชีวิตให้รอดตลอดอาทิตย์กัน มาบ้างแน่ ๆ แล้วก็เป็นอะไรที่น่าแปลก เพราะเราก็มักจะรอดมาได้ทุกครั้ง

เหตุผลก็เพราะว่าคนเรามีความสามารถในการปรับตัว การเก็บออมก่อนใช้ก็เป็นการสร้างสถานการณ์ที่คล้าย ๆ กับที่เราพูดถึงไป สมมติว่า เราตั้งใจจะเก็บให้ได้เดือนละ 1,000 บาท แต่ถ้าเราไม่มีการออมก่อนใช้ แปลว่าอาทิตย์สิ้นเดือนนั้นเราจะเงินเหลือ 1,500 บาท แทนที่จะเป็น 500 บาท

ทีนี้เราก็จะเริ่มหาข้ออ้าง ข้อแก้ตัวอย่างเช่น “ไว้ก่อนละกัน” “ไว้ค่อยเก็บเดือนหน้าละกัน” เหตุผลส า รพัดที่สุดท้ายถูกหยิบยกขึ้น มาทำให้เราเก็บเงินไม่ได้ เราแนะนำต่อ ว่าสำหรับเงินที่หักออมล่ ว งหน้าออ กมาทุกเดือนให้เปิดบัญชีแยกเก็บกับบัญชีที่เราใช้ประจำ เพื่อเป็นการวางเงินให้ไกลไม้ไกลมือมากที่สุด

ตอนที่เราเริ่มเก็บออมเงิน เราจะไม่ผูกอะไรไว้กับบัญชี ที่เก็บเงินแยกเลย ไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิต Mobile Banking ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ ยงที่เราไปหยิบถอนออ กมา โดยบัญชีที่เก็บแยกเราอาจจะใช้บัญชีเงินฝากประจำ ที่ต้องมีการฝากเงินทุกเดือนเพื่อเป็นการเพิ่มวินัยการออมให้กับตัวเราไปในตัวด้วย

2. เก็บแบงก์ 50 และหยอดเหรียญใส่กระปุก

อีกวิธีการหนึ่งที่เราทำแล้ว รู้ตัวอีกทีก็มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นเดือน ละหลายพัน การเก็บ ’แบงก็ 50’ และ ‘หยอดเหรียญใส่กระปุก’ หลักการก็คือ ทุกครั้งที่เราได้เงินทอนกลับมาเป็น ‘แบงก์ 50’หรือ ‘เหรียญ’ อะไรก็ตาม

ห้ามใช้เด็ดขาด! ให้เก็บกลับมาบ้าน แล้วหยอดเข้ากระปุกทันที จากนั้นทุกเดือน ก็นำเงินในกระปุกนำไปใส่บัญชีธนาคารที่เราเปิดแยกไว้นั่นเอง

3. ทำบัญชีรายจ่าย

จดให้หมด จดให้ครบทุกบาททุกสตางค์ที่เราใช้จ่ายออ กไป เพื่อให้เราเห็นภาพการใช้จ่ายของเราในแต่วัน แต่ละสัปดาห์ว่าเราใช้จ่ายอะไรออ กไปบ้าง

สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ เมื่อเรามีการเริ่มบันทึกว่าเราจ่ายอะไรออ กไปบ้าง เราจะเริ่มใช้จ่ายน้อยลงไปแบบไม่รู้ตัว แนะนำ 5 Application ที่ช่วย “จัดการรายรับรายจ่าย”

4. ใช้บัตรเครดิตอย่างพอดี

ส่วนตัวเราก็ยังมองว่า ‘บัตรเครดิต’ มีประโยชน์มากกว่าข้อเสีย สำหรับคนที่ใช้เป็น เพราะว่าการใช้จ่ายเงินสด แทบจะไม่ได้ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษอะไรกลับมาเลย แต่ถ้าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะได้ทั้งเงินคืน การสะสมแต้ม ต่าง ๆ ซึ่งกฎเหล็กของการใช้ ‘บัตรเครดิต’

มีเพียงข้อเดียวเลยก็คือ.. จะรูดบัตรเครดิตก็ต่อเมื่อเรา มีเงินสดจ่าย ณ เวลานั้นเท่านั้น ถ้าไม่มีก็ห้ามรูดเด็ดขาดเพราะถ้ารูดไปแล้ว ก็แปลว่า เรากำลังดึงเงินในอนาคตออ กมาใช้

นอ กจากนี้การใช้ จ่ายผ่านบัตรเครดิต ยังช่วยให้เราทำ ‘บัญชีรายจ่าย’ ง่ายขึ้นด้วย เพราะทุกการใช้งานจะถูกบันทึกไว้เสมอไม่ต้องกลัวลืมอีกต่อไป!

5. ก่อนซื้อของทุกครั้งคิดอย่างน้อย 3 วัน

คนเรามักจะซื้อของด้วยอารมณ์ วิธีแก้ที่เราใช้กับตัวเอง และได้ผลมากเลยก็คือ ถ้าจะซื้ออะไรที่ไม่ใช่ของที่ต้องซื้ออยู่ในชีวิตประจำอยู่แล้ว เราจะกลับไปนอนคิดอย่างน้อย 3 วัน ว่าเราต้องการของชิ้นนี้จริงหรือเปล่า ซื้อแล้วจะได้ใช้มั้ย ถ้าได้ใช้แล้วจะได้ใช้บ่อยมากแค่ไหน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.