1. ต้องรู้ตัวเอง ว่าระหว่าง หนี้สินกับทรัพย์สิน มีอะไรมากกว่ากัน
เราต้องหัน มา สำรวจตัวเองก่อนว่าตอนนี้เราอยู่ในจุดไหนสำหรับรายการค่าใช้จ่าย มีหนี้สินหรือทรัพย์สิน มากกว่ากัน บางคนคิดว่าเราก็มีของมีค่าที่ซื้อมาใน มูลค่ามากๆ เยอะแยะ
แต่ทำไมกลับยังมีหนี้สินอยู่มากมาย เพราะบางคน มักจะซื้อของที่ลดมูลค่า ไม่ใช่ของที่เพิ่มมูลค่า อย่างเช่น รถยนต์, สมาร์ทโฟน ที่มูลค่ามักจะลดลงเรื่อยๆ
แทนที่จะสะสมทรัพย์สินที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ อย่างเช่น ทองคำ, หรือ การนำเงินไปลงทุนใน หุ้น กองทุนรวม
2. มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน
เงินสำรองฉุกเฉิน ควรเป็นเงินที่ สามารถถอนออ กมาใช้ได้ตลอดเวลา ที่เราต้องการ หรือทรัพย์สินที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงินสด ได้ในทันที เพื่อที่ว่าเวลาเราจำเป็นต้องใช้เงินทันที
จะสามารถเอามาได้เลย แต่เงินสำรองของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากันเพราะแต่ละคนก็มีภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราต้องคำนวณจากรายจ่ายปกติต่อเดือนของเรา ตั้งแต่ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่างวดรถ ค่าเช่าบ้านผ่่อนบ้าน ค่าอยู่ค่ากิน
ถ้าเรามีรายจ่ายเดือนละ 20,000 เราต้องมีเงินสำรอง 20,000×6 = 100,000 ไว้สำหรับ เหตุฉุกเฉิน อย่างเช่น ตกงานกระทันหัน เพื่อให้เรายังมีเงินใช้จ่ายในระหว่างที่หางานใหม่
3. สร้างงบการเงินของตัวเอง
เราต้องรู้จัก ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเรามีภาระอะไร ต้องจ่าย และสามารถที่จะเก็บออมได้เท่าไหร่ ของรายได้ จากนั้นเราก็แบ่งสัดส่วนเงินออ กเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ
โดยใช้สูตร 50-30-20 (50% ใช้จ่ายสำหรับสิ่งที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนงวดรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าอยู่ค่ากิน 30% ไว้ใช้สำหรับสิ่งที่เราอยากได้ และอีก 20% ให้เก็บออมไว้)
ควรแบ่งเงินตั้งแต่วันที่เงินเดือนออ ก เพราะคนส่วนใหญ่มักจะออมเงินหลัง จากใช้จ่ายไปหมดแล้ว สุดท้ายก็ไม่เหลือเงินให้ออม
4. ทยอยปลดหนี้ให้หมด
หากใคร ที่ยังมีหนี้สิน อยู่ไม่ว่าจะเป็น ค่างวดรถ ค่าบัตรเครดิต หรือผ่อน 0% ของสินค้าต่างๆ ต้องแบ่งเงินให้ดีและทยอยปิดไปทีละยอดให้หมด เพราะถ้าหากเรายังมีหนี้สิน ก็ยากที่จะมีเงินไปต่อยอด
แถมยังต้องมากังวลกับเจ้าหรี้อีก ดังนั้น ควรจัดลำดับการปลดหนี้ โดยเริ่มจากเจ้าหนี้ ที่มีอัตราดอ กเบี้ยสูง แล้วไล่ไปก้อนอื่นๆตามลำดับจนครบทุกก้อน
5. วางแผนเกษียณ
ยิ่งเรา สามารถวางแผนการเกษียณได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับตัวเราได้เร็วเท่านั้น หลายคน มักจะใช้ชีวิตไปแบบวันต่อวัน หรือเดือนชนเดือนจนเคยชิน
จนลืมที่จะนึกถึง การเกษียณของตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องรีบวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆตอนอายุยังน้อยเพราะเราก็จะได้มีเวลาเก็บเงิน
และหาหนทางในการทำเงิน เพื่อไปถึงเป้าห ม ายของตัวเอง ได้เร็วยิ่งขึ้น ถ้ายิ่งคิดได้ช้าเราก็จะยิ่งต้องเหนื่อยมากขึ้นกับช่วงเวลาที่ใกล้เข้ามาทุกที
6. ศึกษาเรื่องภาษี
การจ่ายภาษี ถือเป็นเรื่องที่ทุกคน ต้องศึกษาและเรียนรู้ไว้ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวของเรา ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนภาษี การละเว้นภาษี รวมถึง ก ฏ ห ม า ย ที่เกี่ยวข้องกับภาษี
เพราะยิ่งมีรายได้มากภาษีที่ต้องจ่ายก็ยิ่งมากตามไปด้วยหากเรามีความรู้ในด้านนี้เราก็จะได้ทำให้ถูกต้อง ตาม ก ฏ ห ม า ย และให้เกิดประโยชน์กับตัวเราได้มากที่สุด