1.ตั้งเป้าห ม ายในการออมให้ชัดเจน
การจะทำอะไร ให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องตั้ง “เป้าห ม าย” ที่ชัดเจน การออมเงินก็เช่นเดียวกัน หากเรามีเป้าห ม ายที่ชัดเจน ว่าจะออมเงินไปเพื่ออะไร
ไม่ว่าจะเพื่อเก็บ เพื่อค่ารักษาพยาบาล เพื่อซื้อของใช้ภายในบ้าน หรือเพื่อท่องเที่ยว ก็จะทำให้เราสามารถบริหารรายรับและวิเคราะห์รายจ่ายในแต่ละเดือนที่เหลือได้อย่างง่ายดาย
2.ได้มาต้องแบ่ง
หลายๆ คน มักคิดว่าเงินออมคือ เงินส่วนที่เหลือจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ในแต่ละเดือน ซึ่งการออมแบบนี้จะทำให้รายรับแต่ละเดือน มีจำนวนไม่เท่ากัน
และยากที่จะไปถึงเป้าห ม ายของการออมให้สำเร็จได้ ทางที่ดีลองแบ่งจำนวนเงิน ออ กเป็นบางส่วนทันทีที่ได้รับ อาจจะครั้งละ 10%, 20% หรือ 30%
นอ กจากจะทำให้เรามีวินัยในการออมแล้วนั้น การแบ่งเงินภายในทันที ยังช่วยทำให้เรามีเงินออมพอที่จะไปถึงเป้าห ม ายได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
3.ใช้บัตรเครดิตเท่าที่จำเป็น
อย่าตกเป็นทาสของบัตรเครดิตแค่เพียง เพราะกิเลสความอยาก ให้ท่องเอาไว้เสมอว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการหยิบยกเอาเงินในอนาคตของตัวเรามาใช้เพียงเท่านั้น
ความจริงแล้วทุกคนควรมีบัตรเครดิตไว้ สำหรับใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นไม่เกิน 1 – 2 ใบ โดยให้ใช้กับสิ่งของชิ้นใหญ่อย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์
หรือจะเอาไว้รูดค่าใช้จ่ายรายเดือน อย่างค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เพื่อสะสมแต้ม เพียงเท่านั้น ส่วนของใช้จุกจิกที่ไม่จำเป็นควรงดใช้บัตรเครดิตรูด
เพราะจะกลายเป็นดินพอ กหางหมูได้โดยไม่รู้ตัว
4.หารูปแบบใหม่ๆ ในการเก็บเงิน
นอ กเหนือจากการแบ่งเงิน เพื่อออมแล้วนั้น การหาวิธีเก็บเงิน รูปแบบใหม่ๆ ที่สอดคล้องไปกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา
ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้เรามีเงิน เก็บเพิ่มมากขึ้น เช่น การเก็บแบงค์ 50 การเก็บเศษเหรียญจากเงินทอน หรือ การเก็บเงินตามจำนวนวันที่ เป็นต้น
5.ลงทุนผ่านการออม
ลองแบ่งเงินจากการออม ในรูปแบบปกติมาลงทุนกับการออมที่มีผลตอบแทนอย่างการฝากประจำ ที่มีทั้งฝากประจำระยะสั้น
ฝากประจำดอ กเบี้ยสูง การซื้อสลากออมสิน เพื่อลุ้นรางวัลจากรัฐในแต่ละเดือน หรือ การซื้อ กองทุนที่สามารถนำไป
ลดหย่อนภาษีให้กับตัวเองได้ในภายหลัง เป็นต้น
6.สร้างวินัยในการใช้จ่าย
การสร้างวินัย ในการใช้เงินเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรา มีเงินเก็บไว้ใช้ในยามคับขัน โดยเราอาจกำหนดจำนวนเงินคร่าวๆ
ที่จะใช้ในแต่ละวัน แล้วทำบันทึกรายรับ–รายจ่ายเพื่อตรวจสอบว่า ในแต่ละเดือนเราใช้จ่าย ไปกับสิ่งใดมากน้อยแค่ไหน สิ่งใดสำคัญและสิ่งใดไม่สำคัญ