1. เก็บ ก่อนใช้
สมการ ที่เราต้องจำและนำไปใช้ ก็คือ รายได้ – เงินออม = ค่าใช้จ่ายค่ะ สำหรับบางคนที่คิดว่าเดี๋ยว ได้เงิน มาแล้วก็ใช้จ่ายไปก่อน เหลือเท่าไหร่ก็ค่อยเก็บ บอ กเลยว่ามีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของคนที่คิดแบบนี้จะออมเงินได้ค่ะ
เพราะส่วน มากแทบจะไม่เหลือเงิน ไว้เก็บเลย หรือถ้ามีเหลือ ก็จะน้อยมาก ต่อไปนี้ลองปรับวิธีใหม่ค่ะ ได้เงินเข้ามาไม่ว่าจำนวน มากหรือน้อย จะเป็นเงินเดือนหรือค่าอะไรก็ตาม หักไว้ก่อน 1 ส่วนเอาไปเก็บทันทีค่ะ
ยกตัวอย่าง เรามีรายได้จากการทำงาน 10,000 บาท หักไปเก็บเลย ทันที 1,000 บาท แบบไม่มีข้อต่อรองค่ะ เหลือเท่าไหร่ก็ค่อยเอาเงิน ส่วนนั้นไปบริหารจัดการ แบบนี้จึงจะทำให้เรามีเงินออมมากขึ้นค่ะ
2. แยก บัญชี
บางคน ใช้แค่บัญชีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เงิน โ อ น ออ ก เงินที่เราถอนออ กไปใช้จ่ายนู่นนี่ ซึ่งพอเราทำธุรกรรมทางการเงิน มากๆ เข้า เราก็จะไม่รู้เลยว่า สุดท้าย แล้วเรามีเงินเก็บเหลืออยู่เท่าไหร่ เงินเก็บของเราเพิ่มขึ้น มากน้อยหรือไม่
ดังนั้น เราจึงควรแยกบัญชีไว้เลยว่าเป็นบัญชีรายได้และบัญชีเงินเก็บ ซึ่งบัญชีรายได้ก็คือบัญชีเงินเดือน หรือบัญชีที่เรารับเงินเข้ามา สามารถเบิกถอนและ โ อ น เงินได้ตามปกติ จะทำบัตร ATM คู่กับบัญชีนี้ด้วยก็ได้ค่ะ ส่วนอีกบัญชีคือเงินเก็บโดยที่บัญชีนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องมีบัตร ATM
เน้นการฝากเงินเข้าอย่างเดียว ซึ่งบัญชีนี้ จะทำให้เราเห็นว่ามียอดเงินเพิ่มขึ้น มาเท่าไหร่ เมื่อครบ 6 เดือนหรือ 1 ปี ก็มาลองปรับสมุด เช็คยอดเงินดูว่าเราเก็บออมไว้ได้เพิ่มมากเท่าไหร่แล้วค่ะ
3. แบ่งเงินใช้ เป็นรายวัน
วิธีนี้เห ม าะสำหรับผู้เริ่มต้น หรือว่าคนที่กำลังจะจริงจังกับการเก็บเงิน แต่ว่าหักห้ามใจตัวเอง ไม่ได้ค่ะ ซึ่งข้อดีของวิธีนี้ก็คือสามารถทำให้เราจำกัดวงเงินในการใช้เงินของเราในแต่ละวันได้ ทำให้เราไม่ใช้เงินเกินตัว หรือว่าไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือยค่ะ
วิธีการก็คือเราต้องคำนวณ ก่อนว่า ในแต่ละวันเราใช้เงินเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น ลองคำนวณมาแล้วว่าเราใช้เงินวันละ 300 บาท ใน 1 อาทิตย์คิดเป็นเงินทั้งหมด 2,100 บาท ก็เบิกเงิน มาเลย 2,100 บาท
แล้วก็แบ่งใช้เป็นวันไป แบบนี้ก็จะช่วยคุม ไม่ให้ เราใช้จ่ายเกินตัว ไม่ต้องเอาเงินไปซื้ออะไรที่มันไม่จำเป็น ถือว่าเป็นการบังคับตัวเองไปในตัวและฝึกวินัยในการใช้เงินไปด้วยค่ะ
4. เก็บแบงค์ 50 หรือ ว่าเก็บแบงค์ใหม่
วิธีเก็บแบงค์ 50 หรือว่าการเก็บ แบงค์ใหม่ ก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างได้รับความนิยมค่ะ หลายๆ คนก็ทำกันอยู่ เพราะว่าแบงค์ 50 เป็นแบงค์ที่ไม่ได้มีมูลค่าเยอะเกินไป แล้วก็ไม่น้อยจนเกินไป เวลาเก็บก็จะไม่ค่อยกระทบกับเงินในกระเป๋าเท่าไหร่
หรือบางคนก็เลือ ก เก็บเป็นแบงค์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นใบละ 20 100 500 หรือ 1,000 บางคนก็เลือ กจะเก็บทั้งหมด ถ้าเป็นแบงค์ใหม่ที่ยังไม่มีรอยพับ ลองเก็บใส่กล่องไปเรื่อยๆ พอครบ 1 ปีก็ค่อยเอาออ กมาเช็คจำนวนเงินค่ะ
5. หยอดกระปุก
อย่าดูถูกพลัง ของเศษเหรียญค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ 5 เหรียญ 10 เหรียญบาท ถึงแม้ว่าจะมีมูลค่าน้อย แต่ว่าถ้าเราเก็บเยอะๆ ก็จะสามารถเอาไปใช้ ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เพราะไม่ว่าจะมีมูลค่ามากน้อย ก็ถือว่าเป็นเงิน การที่เราเก็บแบบนี้อาจจะไม่ได้ทำให้เราร่ำรวยหรือว่ามีเงิน มากขึ้นใน 1 ปี
แต่ว่าเป็นการฝึกนิสัย ของการในการออม ฝึกนิสัยของการรู้คุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์ เพราะว่าไม่ว่าจะเล็กน้อยยังไงก็เป็นเงินค่ะ